เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 13. มหาวิยูหสุตตนิทเทส
นอกจากสติปัฏฐาน 4 สัมมัปปธาน 4 อิทธิบาท 4 อินทรีย์ 5 พละ 5 โพชฌงค์ 7
อริยมรรคมีองค์ 8 รวมความว่า พวกสมณพราหมณ์แล่นเลย(ทางแห่งความหมด
จด)แล้ว ย่อมกล่าวความหมดจดด้วยการเห็นอื่น
อีกนัยหนึ่ง พระพุทธเจ้า พระพุทธสาวกและพระปัจเจกพุทธเจ้า ก้าวล่วง
ก้าวพ้น ล่วงพ้นทางแห่งความไม่หมดจด ทางแห่งความไม่สะอาด ทางแห่งความไม่
บริสุทธิ์ ทางแห่งความไม่ผ่องแผ้ว ทางแห่งความไม่ผ่องใสของเดียรถีย์เหล่านั้นย่อม
กล่าว คือ พูด บอก แสดง ชี้แจงความหมดจด คือ ความสะอาด ความบริสุทธิ์
ความหลุดไป ความพ้นไป ความหลุดพ้นไป ด้วยสติปัฏฐาน 4 สัมมัปปธาน 4
อิทธิบาท 4 อินทรีย์ 5 พละ 5 โพชฌงค์ 7 อริยมรรคมีองค์ 8 รวมความว่า
พวกสมณพราหมณ์แล่นเลย(ทางแห่งความหมดจด)แล้ว ย่อมกล่าวความหมดจด
ด้วยการเห็นอื่น ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
สมณพราหมณ์บางพวกเชื่อความหมดจด
เพราะทิฏฐิว่า เรารู้ เราเห็นความหมดจดนี้ว่ามีจริง
ถ้าสมณพราหมณ์ผู้หนึ่งได้เห็นแล้ว จะมีประโยชน์อะไร
ด้วยการเห็นนั้นแก่สมณพราหมณ์นั้นเล่า
พวกสมณพราหมณ์แล่นเลย (ทางแห่งความหมดจด)แล้ว
ย่อมกล่าวความหมดจดด้วยการเห็นอื่น
[144] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
นรชนเมื่อเห็นย่อมเห็นนามรูป
หรือครั้นเห็นแล้ว ก็รู้จักเฉพาะนามรูปเหล่านั้นเท่านั้น
นรชนเห็นนามรูปมากบ้างน้อยบ้างโดยแท้
ถึงอย่างนั้น ผู้ฉลาดทั้งหลายก็ไม่กล่าวความหมดจด
เพราะการเห็นนามรูปนั้น
คำว่า นรชนเมื่อเห็น ในคำว่า นรชนเมื่อเห็นย่อมเห็นนามรูป อธิบายว่า
นรชนเมื่อเห็นด้วยปรจิตตญาณบ้าง เมื่อเห็นด้วยปุพเพนิวาสานุสสติญาณบ้าง เมื่อ
เห็นด้วยมังสจักขุบ้าง เมื่อเห็นด้วยทิพพจักขุบ้าง ก็เห็นนามรูปนั่นเอง โดยความเป็น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :386 }